#
  • pukmai@hotmail.com
  • (+66)864284286



พื้นที่สีเขียว

พื้นที่สีเขียวป่าชุมชนตำบลผักไหม พื้นที่ 3,615 ไร่ ประกอบด้วยป่า 3 ลักษณะ 1 ป่าชุมชนที่เป็นผืนใหญ่ติดต่อกันในเขตลำห้วยทับทัน มีชุมชนดูแล 5 หมู่บ้าน (หมู่ 11 ,14 ,12, 7, 16) 2 ป่าชุมชนที่กระจ่ายในชุมชนหมู่บ้านเรียกว่าป่าวัฒนธรรม มี ป่าดงปู่ตา ป่าช้าสาธารณะ จำนวน 7 แห่ง และวัดสร้างป่า จำนวน 2 แห่ง 3 ป่าส่วนบุคคล(ป่าเศรษฐกิจ) กลุ่มธนาคารต้นไม้ 10 กลุ่ม

1,695

พื้นที่่ป่าชุมชน

120

พื้นที่ป่าวัฒนธรรม

1,800

พื้นที่ป่าส่วนบุคคล

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ปกครอง ทั้งหมด 17 หมู่บ้าน วิถีชีวิตแต่เดิมทำการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักมาหลายชั่วอายุ ทำตามบรรพบุรุษที่พาทำมา มีทรัพยากรที่หลากหลายเป็นทั้งแหล่งอาหาร เช่นป่า ลำห้วย ซึ่งชุมชนตำบลผักไหมมีลำห้วยสองฝั่ง คือลำห้วยทับทันอยู่ฝั่งตะวันตก ลำห้วยวะซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออก เป็นสายน้ำหลักที่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อเสร็จจากการทำนา ชาวบ้านก็จะเข้าป่าหาอาหารเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรขนาดเล็ก และเป็นการผลิตที่มีลักษณะต่างคน ต่างทำ ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาข้อจำกัดต่างๆ

7,202

จำนวนประชากร

1,547

จำนวนครัวเรือน

15,625

พื้นที่ทำการเกษตร

ผลจากการพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหมเป็นศูนย์กลางในการสร้างความร่วมมือ ขับเคลื่อนการพัฒนา ของคนในชุมชน กลุ่มอาชีพ องค์กรภาคประชาชน เพื่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งและพลังในการขับเคลื่อนงานในชุมชน เกิดการขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจระดับชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้มีการเติบโต มั่นคง คนในชุมชนตำบลผักไหมมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ มีอาชีพ ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นำระบบการกระจายน้ำเพื่อการทำการเกษตร ที่มีความหลากหลาย มีการใช้พลังงานหมุนเวียน นำเทคโนโลยีการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

5,000

ระบบส่งน้ำแบบท่อ (เมตร)

10

ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

1,300

บ่อน้ำระดับผิวดิน

ผู้ได้รับประโยชน์

คนในชุมชนตำบลผักไหมมีภูมิคุ้มกันมีความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างเท่าทัน บรรเทาผลกระทบ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น มีพลังในการดำเนินชีวิตด้วยวิถีของชุมชน

1,314

ครัวเรือนผู้รับผลประโยขน์

139,841.91

รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน

80%

พื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น

เพิ่มพื้นที่สีเขียว

เกษตรกรมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องตามมาตรฐานอินทรีย์สหภาพยุโรป มาตรฐานอินทรีย์สหรัฐอเมริกา และมาตรฐานเกษตรอินทรย์ของประเทศไทย โดยเกษรกรมุ่งหวังที่จะพัฒนาระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืน เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค เน้นการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรและวัสดุธรรมชาติในพื้นที่และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ สร้างความเข้มแข็งและการเติบโตอย่างยั่งยืน ให้กับคนในชุมชน ทำให้ทรัพยากรทางธรรมชาติ ระบบนิเวศได้รับการฟื้นฟู เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ขยายพื้นที่สีเขียว เกิดพื้นที่เกษตรอินทรีย์

2,004

พื้นที่เกษตรอินทรีย์(ไร่)

400

พืชตระกูลถั่ว

1,500

พื้นที่ปลูกกระเจี๊ยบ